ประวัติหลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร
พระครูสัจจานุรักษ์"หลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร"
วัดพระพุทธบาทเขากระโดง. อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
"พระครูสัจจานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร" พระเกจิชื่อดังและพระนักพัฒนา ที่ชาวอีสานใต้ให้ความเลื่อมใสศรัทธา เนื่องจากเป็นพระเถระที่มีเมตตา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
มีนามเดิม เที่ยง อารมณ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ม.ค. 2484 ที่บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 12 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
ในวัยเด็กมีความขยันหมั่นเพียร กตัญญูต่อบิดามารดา ช่วยกิจการงานทุกอย่าง ทำนา หว่านกล้า เก็บเกี่ยวข้าว ด้วยความอุตสาหะอดทน
จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนในหมู่บ้าน จากนั้นก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนามาตลอด
กระทั่งอายุ 29 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่ วัดอิสาณ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2513 มีพระเมธีธรรมาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อจำรัส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานาม ปภังกโร
หลังอุปสมบท ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทเขากระโดง ตั้งใจขยันหมั่นเพียรศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยเป็นผู้มีความวิริยะสูง จดท่องแม่นยำยิ่งนัก ทั้งฝักใฝ่หาความรู้ เพียรหาครูบาอาจารย์อย่างไม่ลดละแม้จะไกลไปยาก ก็อุตส่าห์ดั้นด้นเดินทางไป
ศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานจากหลวงพ่อบุญมาอยู่หลายปี จนมีความเชี่ยวชาญ ซึ่งหลวงพ่อบุญมาได้แนะนำว่า "ถ้าจะบรรลุถึงธรรมปฏิบัติที่แท้จริงแล้วจะต้องออกธุดงค์ เพื่อหาความวิเวกฝึกจิตสมาธิให้กล้าแข็ง"
ท่านจึงออกเดินธุดงค์จาริกหาความวิเวกไปตามป่าดงดิบทั้งไทย พม่า และเขมร ต่อมาหลวงพ่อบุญมาถึงแก่มรณภาพ ท่านเดินทางกลับมาเพื่อช่วยจัดการเกี่ยวกับศพหลวงพ่อบุญมา กระทั่งพระอธิการบุญเย็น พระอาวุโสในวัดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา
หลังจากนั้น หลวงพ่อเที่ยงออกท่องธุดงค์อีก คราวนี้ขึ้นไปทางเหนือ จุดหมายปลายทาง คือ ฝั่งเมียวดี ประเทศพม่า ผ่านทางแม่สอด จ.ตาก แล้วข้ามฟากมุ่งสู่ยอดดอยลิ้นกี่ ฝั่งเมียวดี เข้ากัมมัฏฐานรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่นั่นเป็นเวลาเกือบปี
วันหนึ่ง ท่านได้พบกับพระภิกษุชาวลาวรูปหนึ่งชื่อว่า หลวงพ่อมหาตันอ่อน เป็นพระเถระจากเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเชี่ยวชาญในวิทยาคม ท่านทั้งสองได้แลกเปลี่ยนวิชาความรู้กัน และความรู้ด้านปฏิบัติสมถะสำหรับในด้านวิทยาคม
ครั้นพอออกพรรษา หลวงพ่อเที่ยงแบกกลดคู่ชีพธุดงค์มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหาร เพื่อบำเพ็ญเพียร และได้พบกับพระเถระเขมรระดับเกจิหลายรูปด้วยกัน และฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาด้านวิชาอาคม
หลวงพ่อเที่ยงธุดงค์เข้าไปในเขมรพร้อมกับพระอาจารย์อุทัยเพื่อนสหธรรมิก พบกับพระเกจิอาจารย์ขมังเวทชาวเขมรได้รับความเมตตาสั่งสอนถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ อย่างไม่ปิดบัง
สำหรับวัดพระพุทธบาทเขากระโดง ตั้งอยู่เชิงเขากระโดง ซึ่งเป็นวนอุทยาน ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2498 โดยหลวงพ่อบุญมา อาจารย์สอนวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในที่ดิน 5 ไร่
หลวงพ่อบุญมาชักชวนประชาชนพระภิกษุ-สามเณรร่วมกันพัฒนาบนยอดเขาและทางขึ้นเขา
หลังหลวงพ่อบุญมามรณภาพ ต่อมา วัดพระพุทธบาทเขากระโดง ได้รับประกาศตั้งเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ.2521
"พระครูสัจจานุรักษ์" หรือ "หลวงพ่อเที่ยง ปภังกโร" พระเกจิชื่อดังและพระนักพัฒ
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระ
มีนามเดิม เที่ยง อารมณ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 ม.ค. 2484 ที่บ้านเลขที่ 108 หมู่ที่ 12 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์
ในวัยเด็กมีความขยันหมั่นเพ
จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนในหมู่บ้าน จากนั้นก็ช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำ
กระทั่งอายุ 29 ปี เข้าพิธีอุปสมบท ที่ วัดอิสาณ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2513 มีพระเมธีธรรมาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อบุญมา ปัญญาปโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อจำรัส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานาม ปภังกโร
หลังอุปสมบท ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดพระ
ศึกษาวิทยาคมและวิปัสสนากรร
ท่านจึงออกเดินธุดงค์จาริกห
หลังจากนั้น หลวงพ่อเที่ยงออกท่องธุดงค์
วันหนึ่ง ท่านได้พบกับพระภิกษุชาวลาว
ครั้นพอออกพรรษา หลวงพ่อเที่ยงแบกกลดคู่ชีพธ
หลวงพ่อเที่ยงธุดงค์เข้าไปใ
สำหรับวัดพระพุทธบาทเขากระโ
เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2498 โดยหลวงพ่อบุญมา อาจารย์สอนวิปัสสนากัมมัฏฐา
หลวงพ่อบุญมาชักชวนประชาชนพ
หลังหลวงพ่อบุญมามรณภาพ ต่อมา วัดพระพุทธบาทเขากระโดง ได้รับประกาศตั้งเป็นวัดถูก
ส่วนหลวงพ่อเที่ยงได้รับพระ
สานต่อภารกิจสร้างอุโบสถต่อ
ด้านการสร้างวัตถุมงคลของหล
หลวงพ่อเที่ยงมีอุปนิสัยส่ว
ด้วยมีจิตใจตั้งมั่น ปฏิบัติธรรมตามแนวทางแห่งอง
ช่วงบั้นปลายชีวิตของหลวงพ่
กระทั่งเมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 3 มี.ค. น้องสาวของหลวงพ่อเที่ยงและ
จึงเรียกรถพยาบาล นำร่างหลวงพ่อส่งโรงพยาบาลศ
พระใบฎีกาทระนง ธนปัญโญ รองเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทเ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น